วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

อุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์

2.2 ส่วนประกอบภายในของเครื่องคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์มีส่วนประกอบภายในดังต่อไปนี้
2.2.1 เมนบอร์ด (Main Board)
            เมนบอร์ดหรือแผงวงจรหลักที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ การให้อุปกรณ์ต่างๆ ทำงานได้นั้นต้องติดตั้งหรือเชื่อมต่อสายเข้ากับเมนบอร์ด สำหรับซีพียูต้องติดตั้งเข้ากับเมนบอร์ดถูกผลิตเพื่อใช้กับซีพียูต่างรุ่นต่างแบบ และมีผู้ผลิตหลายรายด้วยกับ เช่น ASUSINTELGIGABYTECHAINTECH เป็นต้น
  

 2.2.2 AGP Slot (Accelerator Graphic Port)
            AGP Slot เป็นสล็อตที่มีไว้สำหรับติดตั้งการ์ดแสดงผลหรือการ์ดจอเท่านั้น สล็อตเอจีพีมีสีน้ำตาลตำแหน่งจะอยู่ด้านบนของสล็อตพีซีไอ เหตุผลีที่ใช้ติดตั้งเฉพาะการ์ดแสดงผล เนื่องจากระบบบัสแบบ PCI ที่ใช้กันอยู่เดิมนั้นไม่สามารถตอบสนองการใช้งานที่ต้องการความเร็วในการแสดงผลสูงๆ เช่น เกมสามมิติ โปรแกรมประเภทกราฟิกสามมิติ ออกแบบบัสแบบเอจีพีหรือสล็อตแบบเอจีพีรุ่นใหม่มีความเร็วในการรับส่งขอมูสูงขึ้น ซึ่งมีข้อสังเกต คือ 2X4X8X หรือมากกว่า ตัวเลขยิ่งสูงมากยิ่งมีความเร็วในการรับข้อมูลมาก

   2.2.3 แบตเตอรี่แบคอัพ (Battery Backup)
            แบตเตอรี่แบคอัพเบอร์ CR2032 เป็นแบตเตอรี่ที่จ่ายกระแสไฟฟ้ากับ CMOS เพื่อเป็นข้อมูลในไบออส เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม วันเวลา หากแบตเตอรี่หมดอายุจะทำให้ข้อมูลในไบออสหายไป ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถตรวจสอบภายในเครื่องได้ ทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้

  2.2.4 BIOS (Basic Basic lnput Output)
            BIOS เป็น CHIP IC ที่อยู่บนเมนบอร์ด ประกอบด้วยโปรแกรมที่ใช้ตรวจสอบค้นหาอุปกรณ์ประเภทฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟที่ติดตั้งเข้าไป เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมที่อยู่ในไบออสเริ่มตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น การทำงานของเมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์ แรม การ์ดจอ แป้นพิมพ์ ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่า Power on Self Test (Post) ในกรณีที่มีอุปกรณ์ชำรุดหรือผิดปกติ นอกจากนี้ไบออสมีคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มต้นการทำงานใหม่เพื่อเข้าระบบวินโดส์หรือระบบปฏิบัติการอื่นที่ติดตั้งไว้แล้ว ตัวอย่างไบออสของ AIM ไบออสมีหลายบริษัทที่ผลิต เช่น AWARD PHOENIXCOMPAQ เป็นต้น
  

 2.2.5 ซ็อกเก็ตซีพียู (CPU Socket)
            ซ็อกเก็ตซีพียูใช้สำหรับติดตั้งซีพียูเข้ากับเมนบอร์ด ซ็อกเก็ตซีพียูเป็นตำแหน่งสำหรับติดตั้งซีพียู (CPU) รูปแบบซ็อกเก็ตมีความแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู (CPU) การซื้อเมนบอร์ด (Mainboard) มาใช้งานนั้นจึงต้องตรวจสอบว่า เมนบอร์ดที่ซื้อสามารถติดซีพียู (CPU) ได้หรือไม่ ในปัจจุบันที่นิยมใช้มี แบบ คือ LGA 775 สำหรับ Core2Socket AM2+AM3 สำหรับ AMD ตลอดจน LGA 1366 ของ Core i7 และ LGA 1156 สำหรับ Core i3/i5

    2.2.6 ชุดพัดลมและฮีตซิงก์ระบายความร้อน (HeatsinkFan)
            ชุดพัดลมและฮีตซิงก์ระบายความร้อนสำหรับติตั้งบนตัวซีพียู เพื่อช่วยระบายความร้อนจากซีพียูคอมพิวเตอร์กติได้ติดตั้งฮีตซิงก์มาพร้อมกับซีพียูหรืออาจแยกต่างหาก การเลือกซื้อควรเลือกความเร็วที่เหมาะสมกับซีพียู

    2.2.7 หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit: CPU)
            ไมโครโพรเซอร์ส่วนมากเรียกว่า ซีพียู เป็นส่วนที่เป็นหัวใจของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซีพียูที่นิยมใช้หลายยี่ห้อ เช่น AMDlntelPowerPCSpareCyrix ซีพียูทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการประมลผล

   2.2.8 ขั้วต่อสายไฟ (ATX Power Connector)
            ขั้วต่อสายไฟจากเพาเวอร์ซัพพลายเข้ากับเมนบอร์ด ซึ่งเป็นขั้วต่อแบบ ATX โดยที่เพาเวอร์ซัพพลายมีสายไฟหนึ่งชุดเอาไว้ต่อเข้ากับเมนบอร์ดและด้านหนึ่งของขั้วต่อมีสลักล็อกสายไฟ ป้องกันไม่ให้สายไฟหลุดจากเมนบอร์ดได้ง่าย

   2.2.9 คอนเน็คเตอร์ (Connector)
            คอนเน็ตเตอร์ คือ อุปกรณ์สำหรับสายแพเข้ากับ Hard Disk Drive หรือ CDROM Drive หรืออุปกรณ์อื่น ซึ่งเมนบอร์ดมีคอนเน็ตเตอร์จำนวนสองช่องหรือมากกว่า หากเป็นเครื่องรุ่นใหม่เป็นคอนเน็ตเตอร์แบบ SATA มีจำนวน ช่อง เรียกว่า SATA1SATA2SATA3 และSATA4 ตามลำดับ ซึ่งเชื่อมต่ออุปกรณ์ด้วยสาย SATA สำหรับคอนเน็ตเตอร์แบบ IDE เดิมมีเข็ม (Pin) จำนวน 39 เข็มหรือมากกว่า มีจำนวนสองช่องเรียก IDE1IDE2 เชื่อมต่ออุปกรณ์ด้วยสายแพหนึ่งเส้นสามารถพ่วงต่อจำนวน อุปกรณ์

   2.2.10 สล็อต AGP และสล็อต PCI Slots
            สล็อต AGP และสล็อต PCI Slots เป็นช่องที่ถูกต้องเบนบอร์ดสำหรับติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม เช่น ติดตั้งการ์ด SCSI การ์ดเสียง การ์ดเน็ตเวิร์ค โมเด็มแบบ internal เมนบอร์ดโดยส่วนใหญ่มีสล็อต SCSI เป็นสีขาวครีม แต่มีเมนบอร์ดรุ่นใหม่บางรุ่นที่เพิ่มสล็อต APG ตามแต่บริษัทผู้ผลิตกำหนด เช่น สีน้ำเงิน สีส้ม เป็นต้น

   2.2.11 RAM Sockets
RAM Sockets เป็นช่องสำหรับติดตั้งแรมบนเมนบอร์ดแต่ละรุ่นมีช่องติดตั้งแรมไม่เท่ากัน หากมีช่องเสียบจำนวนแรมมากทำให้เพิ่มได้มากขึ้น ซ็อคเกตที่ใช้ติดตั้งแรมยังแบ่งออกตามชนิดของแรมด้วย หากเป็นเมนบอร์ดที่ใช้แรมแบบ DDR จะมีรอยมาร์คอยู่ตรงกลางหนึ่งช่อง ซึ่งตรงตามตำแหน่งรอยมาร์คที่แรม

    2.2.12 System Panel Connector
            System Panel Connector เป็นจุดที่ใช้ต่อสายสวิทช์ปิดเปิดเครื่อง (Power Switch) สายไฟปุ่มรีเซต (Reset Switch) ไฟแสดงการทำงานของฮาร์ดดิสก์ (HDD LED) ลำโพงภายในตัวเครื่อง (Speaker) และสวิตช์ล็อกการทำงานของคีย์บอร์ด (Keyboard Lock) โดยสวิตช์หรือสายไฟถูกติดตั้งในขั้นตอนการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ถ้าไม่ต่อสายไฟจากเคสเข้ากับ System Panel สวิตช์เปิดเครื่องหรือไฟแสดงการทำงานของฮาร์ดดิสก์จะไม่สามารถทำงานได้

   2.2.13 พอร์ต (Port)
            สำหรับพอร์ตที่ต้องใช้งานบ่อยมีดังนี้

1.       PS/2 MousePS/2 Keyboard Port เป็นพอร์ตที่ใช้สำหรับต่อสายเมาส์กับสายป้นพิมพ์เข้ากับเครื่อง
คอมพิวเตอร์ โดยเรียกว่าพีเอสทูเมาส์หรือพีเอสทูคีย์บอร์ด แป้นพิมพ์หรือเมาส์จะมีเข็มที่ตรงตำแหน่งของรูที่พอร์ตด้วย การเสียบสายเมาส์และแป้นพิมพ์เข้าไปต้องระวังให้เข็มตรงกับรู สำหรับพอร์ตเมาส์และแป้นพิมพ์จะใช้รหัสสี (Color Key) แสดงเอาไว้ โดยสีเขียวคือสายต่อเมาส์ สีน้ำเงินคือสายต่อแป้นพิมพ์

2.       USB Port (Universal Serial Bus) พอร์ตสำหรับต่อพ่วงกับอุปกรณ์ที่มีพอร์ตแบบพอร์ตยูเอสบีเพิ่มมาอีก
เรียกว่าพอร์ต USB 2.0 หรือ USB 3.0 ซึ่งรับส่งข้อมูลได้เร็วกว่าเดิม เมื่อต้องซื้ออุปกรณ์ต่อพ่วงควรตรวจสอบด้วยว่าอุปกรณ์นั้นเชื่อมต่อกับพอร์ตยูเอสบีรุ่นเก่าหรือต้องใช้ร่วมกับพอร์ตยูเอสบี 2.03.0 เพื่อความมั่นใจว่าอุปกรณ์ที่ซื้อมานั้นทำงานได้อย่างไม่มีปัญหาใดๆ

3.       Parallel Port เป็นพอร์ตแบบมีรู 25 รู สำหรับต่อกับอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องพิมพ์ พล็อตเตอร์
สแกนเนอร์ หารกเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน อุปกรณ์ต่างๆนิยมใช้พอร์ต USB แทน

4.       Serial Port พอร์ตแบบตัวผู้ที่มีขาสัญญาณอยู่ 9 ขา เรียกว่าคอมพอร์ต (COM Port) เป็นพอร์ตที่ใช้สำหรับต่อ
โมเด็มเมาส์ เป็นจอยสติก ใช้สำหรับต่อพ่วงอุปกรณ์รุ่นเก่า

        5.       IEEE 1394 Port เรียกอีกอย่างว่า Fire Wire เป็นพอร์ตที่ใช้สำหรับอุปกรณ์ต่อพ่วง ใช้สำหรับต่อพ่วงกับ
สแกนเนอร์ กล้องดิจิตอลระดับไฮเอนด์ กล้องดิจิตอลวิดีโอ ฮาร์ดดิสก์ที่มีพอร์ตแบบ Fire Wire และดิจิตอลวิดีโอ เนื่องจากสารมารถควบคุมการทำงานของกล้องผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง
6.       Line ln/Line Out/Microhone Jack สำหรับเมนบอร์ดรุ่นใหม่ การ์ดเสียงถูกติดตั้งไว้บนเมนบอร์ดในเครื่อง
ชนิด On Board เรียกว่าการ์ดเสียงนี้ว่า Sound On Board ประกอบด้วยช่องสำหรับต่อไมโครโฟนลำโพง และเครื่องเล่นเทป ช่วยให้ประหยัดไม่ต้องซื้อการ์ดเพิ่มเติม หากต้องระบบเสียงที่ดีกว่าที่ถูกติดตั้งมาสามารถติดตั้งการ์ดเสียงเพิ่มเติมได้

    2.2.14 เพาเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)
            อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทุกอุปกรณ์ไม่สามารถทำงานไ หากไม่มีกระแสไฟฟ้า ยกเว้นมีแบตเตอรี่สำรองไฟ เช่น แบตเตอรี่ในเครื่องโน๊ตบุ๊ก เป็นต้น เพาเวอร์ซัพพลายทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ หากเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่มีเพาเวอร์ซัพพลายติดตั้งอู เครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถทำงานได้ยกเว้นเครื่องนั้นมีแบตเตอรี่สำรอง

    2.2.15 หน่วยความจำแรม RAM (Random Access Memory)
            หน่วยความจำชนิดนี้มีหน้าที่บันทึกและอ่านข้อมูล โดยต้องมีกระแสไฟฟ้าเลี้ยงตลอดเวลา หากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ข้อมูลในแมจะหาไป ซึ่งแรมได้ถูกนำมาใช้ในการรับส่งข้อมูลระหว่างซีพียูกับฮาร์ดดิสก์ จอภาพ หรืออุปกรณ์อื่นๆ

    2.2.16 ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)
            ฮาร์ดดิสก์เป็นุปกรณ์สำหรับบันทึกข้อมูลโดยใช้แถบแม่เหล็กข้อมูลซึ่งบันทึกโปรแกรมระบบปฏิบัติการ โปรแกรมประยุกต์ และข้อมูลที่ได้จากการประมวลผล ตลอดจนข้อมูล รูปภาพ และอื่นๆ ที่ต้องการ การบันทึกข้อมูลได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความจุของฮาร์ดดิสก์ซึ่งมีหน่วยเป็น กิกะไบท์และเทระไบต์

    2.2.17 การ์ดแสดงผล (Display Card)
            การ์ดแสดงผลหรือการ์ดจอ มีชื่อเรียกอีกอย่างคือ VGA Card (Video Graphic Array) หากเป็นการ์ดรุ่นใหม่สำหรับเกมเรียกว่า 3D Card ซึ่งเป็นการ์ดที่ช่วยให้การแสดงรูปภาพที่เป็นภาพสามมิติทำให้เร็วยิ่งขึ้น การ์ดแสดงผลผลส่งสัญญาณภาพไปแสดงที่จอภาพ การ์ดบางรุ่นแสดงผลได้สองจอภาพเรียกว่า Dual Head เนื่องจากมีพอร์ตสำหรับต่อสายจากจอภาพทั้งสองจอ และการ์ดบางรุ่นมีช่องส่งสัญญาณภาพออกไปที่โทรทัศน์ เรียกว่า TV-Out

    2.2.18 การ์ดเสียง (Sound Card)
            การ์ดเสียงเป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์แสดงผลในรูปแบบเสียงได้ต้องมีลำโพงเป็นสื่อในการแสดงผล รุปแบบแสดงผล ได้แก่ เพลง เกมคอมพิวเตอร์ บันทึกเสียงเข้าไปในคอมพิวเตอร์ได้ เมนบอร์ดส่วนใหญ่เป็นชนิด On Board ซึ่งได้ติดตั้งการ์ดเสียงไว้บนเมนบอร์ด (Sound On Board) หากต้องการภาพเสียงต้องติดตั้งการ์ดเสียงที่นิยมใช้ เช่น Creative Sound Blaster LiveAudigy เป็นต้น

    2.2.19 ซีดีรอมไดรฟ (CD-ROM)
            ซีดีรอมไดรฟเป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอม (CD-RW) ซีดีเพลง (Audio CD) โฟโต้ซีดี (Photo CD) วิดีโอซีดี (Video CD) เป็นไดรฟที่มีความสามารถในการอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดี หากต้องการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีได้ให้เลือกใช้ซีดีรอมไดรฟแบบ CD-RW และหากต้องการอ่านข้อมูลจากแผ่น DVD นอกจากนี้ยังมีไดรฟอีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า Combo Drive เป็นซีดีรอมไดรฟที่รวมซีดีรอมไดรฟ DVD และซีดีรอมไดรฟ CD-RW อยู่ในซีดีรอมไดรฟเดียวทำให้ทั้งดูหนัง ฟังเพลง และบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีและดีวีดีได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์

2.2  ส่วนประกอบภายในของเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์มีส่วนประกอบภายในดังต่อไปนี้ 2.2.1  เมนบอร์ด  (Main Board)             ...